มรดกทางวัฒนธรรมของฮิราอิซูมิ

มรดกทางวัฒนธรรมของฮิราอิซูมิ

เค้าโครง "มรดกทางวัฒนธรรมของฮิราอิซูมิ"

การประเมินคุณค่า ของมรดกโลกทางวัฒนธรรมฮิระอิซูมิ

ฮิระอิซูมิ ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะฮอนชู และเป็นศูนกลางค์ในการเมืองและการบริหาร โดยถูกสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ของการสร้างโลกในอุดมคติที่อยู่บนพื้นฐานของพระพุทธศาสนา ในศตวรรธที่ 12
 สมบัติภายในไม่ว่าจะเป็นศาลาพระพุทธ หรือสวนโจวโด (สุขาวดี)นั้น ได้ถูกถ่ายทอดมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ ผ่านมาทางด้านตะวันออกสุดของเกาะญี่ปุ่น ในช่วงศตวรรษที่ 6 ถึงศตวรรษที่ 12 และได้รับการยอมรับในคุณค่าในการเป็นตัวอย่างที่มีเอกลักษณ์พิเศษ ในความเป็นรูปแบบพระพุทธศาสนา ที่พัฒนาจนมีคุณลักษณะอันเป็นเอกลักษณ์ และแฝงไปด้วยส่วนผสมของแนวความคิดในการให้ความสำคัญกับธรรมชาติ ซึ่งจุดสำคัญเป็นพิเศษคือ ได้ถูกสร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์ในการแสดงออกถึงความเป็นบรรยากาศของดินแดนพระพุทธศาสนา (โจวโด) ในยุคนั้น โดยยึดหลักแนวความคิดทางสุขาวดี ซึ่งเป็นหัวใจของความเชื่อในดินแดนสวรรค์ของพระอมิดาเนียวไร ซึ่งจะนำพาไปสู่การสิ้นธรรมสมัย
 ซึ่งมองได้จาก การแสดงให้เห็นถึงการผสมผสายระหว่างคุณค่าของการรับอิทธิพลสำคัญในการพัฒนาสถาปัตยกรรมของสิ่งปลูกสร้าง และสวนภายในวัด ไปพร้อมกับการเผยแพร่พระพุทธศาสนา รวมทั้งความคิดในเรื่องดินแดนสุขาวดี ซึ่งไม่เพียงแต่สิ่งที่ได้ปรากฏหลงเหลืออยู่บนพื้นดินเท่านั้น ซากปรักหักพังที่หลงเหลืออยู่ใต้พื้นดินเอง ก็ยังมีรูปแบบที่แสดงถึงโดดเด่นถึงขั้นตอนที่สำคัญในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติในด้านการก่อสร้างอาคารและสวน
 นอกจากนั้น แนวความคิดทางสุขาวดีที่มีมุมมองทางความตาย และความเชื่อโลกนี้ และโลกหน้า ที่ถือเป็นฐานของการสร้างสถาปัตยกรรม และสวนของที่นี่นั้น ได้มีบทบาทในการสีบทอดพิธีกรรมทางศาสนา และศิลปะพื้นบ้านของฮิระอิซูมิมาจนทุกวันนี้

平泉の仏国土(浄土)

 ดินแดนพระพุทธศาสนาคือ ประเทศพุทธ หรือโลกแห่งพระพุทธศาสนา ที่ได้รับการบ่งชี้ว่าเป็นดินแดนที่สร้างขึ้นมาตามแนวปฏิบัติ และแนวความคิด แห่งพระโพธิสัตว์ ส่วนสุขาวดี (โจวโด) นั้น ปกติแล้วคนส่วนใหญ่จะมองว่าเป็นเรื่องของดินแดนสวรรค์แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอะมิดาเนียวไร แต่ทว่าในแนวทางพุทธของเอเชียตะวันออกนั้น จะมีแนวความเชื่ออันเป็นหนึ่งเดียวระหว่าง โลกที่มีการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าอันเป็นนิรันดร์, โลกของพระโพธิสัตว์ทีมีระดับชั้นสูง และต่ำ, โลกที่อยู่ร่วมกันระหว่างผู้รู้ และปุถุชน เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนั้นถือได้ว่าเป็นดินแดนทางพระพุทธศาสนาอันบริสุทธิ์ (โจวโด)
 โดยเฉพาะ พระพุทธศาสนาที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของญี่ปุ่นที่พัฒนาในช่วงศตวรรษที่ 6 ถึงศตวรรษที่ 12 นั้น ได้ถูกตีความว่าเป็นการสร้างดินแดนพระพุทธศาสนา (โจวโด) อันเป็นโลกในอุดมคติ และสุดยอดทางพระพุทธศาสนาในโลกยุคปัจจุบัน
 สถาปัตยกรรม,สวน และซากปรักหักพังทางโบราณคดีของฮิระอิซูมินั้น เป็นพุทธศาสนาที่ได้ที่พัฒนาจนมีคุณลักษณะอันเป็นเอกลักษณ์ และแฝงไปด้วยส่วนผสมของแนวความคิดในการให้ความสำคัญกับธรรมชาติ ซึ่งจุดสำคัญเป็นพิเศษคือ ได้ถูกสร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์ในการแสดงออกถึงความเป็นบรรยากาศของดินแดนพระพุทธศาสนา (โจวโด) ในยุคนั้น โดยยึดหลักแนวความคิดทางสุขาวดี ซึ่งเป็นหัวใจของความเชื่อในดินแดนสวรรค์ของพระอมิดาเนียวไร ซึ่งจะนำพาไปสู่การสิ้นธรรมสมัย

เส้นทางสู่การเป็นมรดกโลก

  1. ลงรายชื่อเข้าไปยังบัญชีเสนอชื่อเข้าเป็นมรดกโลก(เมษายน 2001)
  2. ยื่นแฟ้มข้อมูลไปยังยูเนสโก้ (ศูนย์มรดกโลก)(ธันวาคม 2006)
  3. สำรวจพื้นที่โดยอีโคมอส(สิงหาคม 2007)
  4. มีมติให้เลื่อนการนำเสนอชื่อโดยคณะกรรมการมรดกโลก(กรกฏาคม 2008)
  5. ส่งยื่นแฟ้มข้อมูลอีกครั้งไปยังยูเนสโก้ (ศูนย์มรดกโลก)(มกราคม 2010)
  6. สำรวจพื้นที่โดยอีโคมอส (ครั้งที่ 2)(กันยายน 2010)
  7. มีมติให้ลงทะเบียนโดยคณะกรรมการมรดกโลก(มิถุนายน 2011)

สมบัติที่ได้รับการลงเบียน (บันทึกในปี 2011)

ชื่อสมบัติ: ฮิระอิซูมิ- สถาปัตยกรรม,สวน ที่แสดงถึงดินแดนพระพุทธศาสนา (โจวโด – สุขาวดี) และซากปรักหักพังทางโบราณคดี

วัดจูซนจิ (เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่โบราณสถานขึ้นทะเบียนพิเศษ)

คนจิคิโด (มรดกแห่งชาติ)
ศาลาโอยโด คนจิคิโด (สมบัติทางวัฒนธรรมที่สำคัญ)
หอไตรเคียวโซ (สมบัติทางวัฒนธรรมที่สำคัญ)
ซากบ่อน้ำใหญ่การัน (ซากทางประวัติศาสตร์พิเศษ)
※ในส่วนพื้นที่โบราณสถานขึ้นทะเบียนพิเศษ จะไม่ได้รวมถึงพื้นที่วงล้อมที่แยกออกไป

วัดโมซือจิ (เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่โบราณสถานขึ้นทะเบียนพิเศษ)

สวน (ซากทางประวัติศาสตร์พิเศษ, ภูมิทัศน์งดงามพิเศษ)
อาคารโจเกียวโด (ส่วนประกอบของซากทางประวัติศาสตร์)
※ในส่วนพื้นที่โบราณสถานขึ้นทะเบียนพิเศษ จะไม่ได้รวมถึงพื้นที่วงล้อมที่แยกออกไป

ซากวัดคันจิไซโออิน (ซากทางประวัติศาสตร์พิเศษ, ภูมิทัศน์งดงามพิเศษ)

※ซากวัดคันจิไซโออิน เป็นส่วนหนึ่งในบริเวณของโมซือจิ สึเกะตาริจันจุจะอะโตขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแบบพิเศษ
ทว่า ได้รับการกำหนดให้เป็นภูมิทัศน์งดงามในชื่อ “สวนโบราณวัดคันจิไซโออิน”

ซากวัดมุเรียวโคอิน (ส่วนหนึ่งได้เป็นโบราณสถานขึ้นทะเบียนพิเศษ)
เขาคิงเคซัง (พื่นที่ที่กำหนดให้เป็นซากโบราณ)

ใบรับรองมรดกโลก

 “มรดกโลก ฮิระอิซูมิ” ได้รับการยอมรับขึ้นทะเบียนในรายชื่อมรดกโลก ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 35 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในเดือนมิถุนายน 2011 โดยชื่ออย่างเป็นทางการ คือ “ฮิระอิซูมิ – กลุ่มซากสถาปัตยกรรม,สวน และซากปรักหักพังทางโบราณคดีที่แสดงความเป็นดินแดนพระพุทธศาสนา (สุขาวดี-โจวโด)”
 รูปภาพเป็น รูปใบรับรองที่ได้รับมอบจากอิลีนา โบโคว่า หัวหน้าสำนักงานยูเนสโก้ ใน “พิธีรับใบรับรองมรดกโลก (จัดโดยกระทรวงต่างประเทศ” ที่จัดขึ้น ณ ศุนย์มรดกทางวัฒนธรรมฮิระอิซูมิ ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2012 โดยปัจจุบันใบรับรองได้ถูกเก็บรักษาไว้ที่กระทรวงต่างประเทศ
 อนึ่ง สำเนาของใบรับรอง ได้ถูกจัดแสดงไว้ที่ศูนย์มรดกทางวัฒนธรรมฮิระอิซูมิ, ที่ทำาการเขตฮิระอิซูมิ และในหอเอกสารยานางิโนะโกะโชะ

สหประชาชาติ
สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม
อนุสัญญามรดกโลก

อนุสัญญาเพื่อการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก

คณะกรรมการมรดกโลก
“ฮิระอิซูมิ – กลุ่มซากสถาปัตยกรรม,สวน และซากปรักหักพังทางโบราณคดีที่แสดงความเป็นดินแดนพระพุทธศาสนา (สุขาวดี-โจวโด)”
ได้ขึ้นทะเบียนในรายชื่อมรดกโลก

เรื่องที่ได้รับการบันทึกลงในรายชื่อนี้คือ
เป็นสมบัติทางวัฒนธรรม หรือ ธรรมชาติทั้งมวล ที่ได้รับการยอมรับอันเป็นประจักษ์ว่ามีคุณสมบัติอันทรงคุณค่าเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ว่าควรจะได้รับการปกป้อง เพื่อประโยชน์ของหมู่มวลมนุษยชาติ
保護すべき顕著な普遍的価値をもつことを
確証するものである。

วันเดือนปีที่ลงบันทึก อีลีน่า โบโคว่า
29 มิถุนายน 2011 หัวหน้าสำนักงานยูเนสโก้

ความก้าวหน้าจนถึงได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก